กำเนิดรัฐชาติ และ ปัจจัยการกำหนดรัฐชาติต่างๆ



กำเนิดรัฐชาติ และ ปัจจัยการกำหนดรัฐชาติต่างๆในยุโรป สมัยกลาง

               ในช่วงประมาณ ปี ค.ศ. 1300- 1600 ได้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในประเทศตะวันตก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกังกล่าวนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง การเปลี่ยนแปลงทางความคิด วิถีชีวิตของผู้คนในตะวันตก ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เป็นส่วนที่ทำให้ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจของโลกในช่วงเวลาต่อๆมา  ก่อนที่ประวัติศาสตร์จะก้าวไปสู่สมัยใหม่ มีพัฒนาการสำคัญที่เป็นจุดเชื่อมโยงจากสมัยกลางไปสู่สมัยใหม่ได้แก่ รัฐชาติ

                รัฐชาติ

                ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์ยุโรป 4 ประเทศประสบความสำเร็จในการก่อตั้งรัฐชาติขึ้น เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ อันได้แก่
. ความเสื่อมของขุนนางในระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และการค้นพบดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 14
. การขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า
. ความสำนึกในความเป็นชาติอันเกิดจากการใช้ภาษาเดียวกันในแต่ละดินแดน

                รัฐชาติที่สำคัญและมีบทบาทในช่วงสมัยใหม่ตอนต้น ได้แก่

                1. สเปน
                สเปนเป็นรัฐชาติที่มีอำนาจและอิทธิพลที่สุดในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เติบโตขึ้นในสมัยกษัตริย์
เฟอร์ดินานด์แห่งอาเรกอน และพระนางอิซาเบลลาแห่งคาสตีล ทั้งสองพระองค์ทรงรวม 2 อาณาจักรเข้าด้วยกันใน ค.ศ. 1469  ความรุ่งโรจน์ถึงขีดสูงสุดของการค้าปรากฏใน ค.ศ. 1492 เมื่อมีการค้นพบโลกใหม่ในนามของสเปน
ทางด้านศาสนา ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปรากฏว่าชาวสเปนที่นับถือศาสนายิวจำนวนมากเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนา แต่ก็นับถือเพียงภายนอก ในปี ค.ศ. 1492 ชาวยิวสเปนที่เหลืออยู่ก็ถูกขับไล่ออกจากประเทศ
สเปนรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่มากขึ้นในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 5 จนกระทั่งถึงสมัยต่อมาของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ที่สเปนยิ่งใหญ่ ร่ำรวยมั่งคั่งด้วยเงินทองจากเปรู เม็กซิโก การค้าโพ้นทะเล และสามารถรวมโปรตุเกสเข้าไว้ได้ในระยะหนึ่งด้วย ตั้งแต่ ค.ศ. 1580 – 1640

                2. โปรตุเกส
                โปรตุเกสมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 เมื่อเคาน์เฮนรี่แห่งเบอร์กันดีได้ช่วยเหลือ
กษัตริย์เลออนแห่งสเปนต่อสู่พวกมัวร์ จึงได้รับพระราชทานที่ดินผืนใหญ่ในบริเวณโอปอร์โต ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นประเทศโปรตุเกส
รัฐโปรตุเกสไม่สามารถขยายตัวออกทางบกได้ จึงหาทางออกทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภายใต้ การสนับสนุนของเจ้าชายเฮนรี่ นำธงชาติโปนตุเกสไปโบกสะบัดอยู่รอบแหลมกู๊ดโฮปและประเทศอินเดีย และเริ่มวางรากฐาน การแบ่งเขตอิทธิพลของสเปนและโปรตุเกสโดยสันตะปาปาเมื่อ ค.ศ. 1493 และสนธิสัญญาทอร์เดซิลลัสที่ทำกับสเปนใน ค.ศ. 1494 ทำให้โปรตุเกสได้รับเอกสิทธิ์การค้าทางภาคตะวันออก
โปรตุเกสกวาดล้างและเนรเทศประชาชนที่เป็นยิว มุสลิม และโปรเตสแตนท์ เช่นเดียวกับสเปน ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ความรุ่งโรจน์ของเศรษฐกิจก็เริ่มเสื่อมลง เมื่อโปรตุเกสต้องสูญเสียอิทธิพลในการผูกขาดการค้าเครื่องเทศในเอเชียให้แก่ฮอลันดาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17

                3. ฝรั่งเศส
                การนำของโจนออฟอาร์คทำให้ชาวฝรั่งเศสเกิดความสำนึกในชาติ และช่วยให้ประสบความสำเร็จ
ในการขับไล่ชาวอังกฤษออกจากประเทศได้ในสงครามร้อยปี ( ค.ศ.1337 – 1453 ) จากนั้นฝรั่งเศสก็เข้าสู่ความเป็นรัฐชาติแบบใหม่ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ลัว
ฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นในสมัยราชวงศ์บูร์บอง ซึ่งเริ่มต้นจากสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ทำให้ฝรั่งเศสมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนทรงฟื้นฟูอำนาจกษัตริย์และรัฐบาลกลาง อันเป็นรากฐานให้แก่อำนาจอันมั่งคงของกษัตริย์ฝรั่งเศสต่อมา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 4

                4. อังกฤษ
                อังกฤษเข้าสู่สมัยใหม่ในสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ ทรงปรบปรามอิทธิพล
ของขุนนางศักดินาด้วยการยกเลิกกองทัพศักดินา เติบโตและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 เมื่อพระองค์ทรงปฏิรูปศาสนาและก่อตั้งนิกาย Anglican Church ขึ้นใน ค.ศ.1534
สมัยของพระนางเอลิซาเบธที่ 1 สถาบันกษัตริย์ก็ยิ่งมีอำนาจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีการขยายตัวโพ้นทะเล และทำสงครามชนะกองทัพเรืออาร์มาดาของสเปน ในปี ค.ศ. 1588
ด้านเศรษฐกิจ ตั้งบริษัท East India Company ใน ค.ศ. 1600 ซึ่งเป็นการสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศและชนชั้นกลางเป็นอันมาก

                5. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และรัฐต่าง ๆ ในบริเวณเยอรมนี

                จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง จักรวรรดิที่มีอำนาจปกครองดินแดนที่อยู่ตอนกลางของ
ทวีปยุโรป ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยกลางเมื่อจักรพรรดิช์ลมาญ ทรงรวบรวมดินแดนในยุโรปตอนกลางไว้ได้ ทรงได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาเป็นจักรพรรดิปกครองดินแดนเหล่านี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 800 แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา เจ้าในราชวงศ์แฮปเบิร์ก ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่เวียนนา ได้รับเลือกตั้งตำแหน่งนี้อย่างสม่ำเสมอ จนค่อย ๆ กลายเป็นประเพณีได้ปกครองจักรวรรดิต่อมา จักรวรรดินี้ดำรงอยู่ต่อมาตราบจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งฝรั่งเศสในสมัยของนโปเลียนเข้าทำลายจักรวรรดิลงในปี ค.ศ. 1806

                6. อิตาลี

                เมื่อเข้าสู่สมัยใหม่ตอนต้น อิตาลีแบ่งอกเป็นรัฐอิสระต่าง ๆ ที่มีฐานะทางการเมืองและเศรษฐกิจ
แตกต่างกัน อิตาลีไม่อาจรวมชาติได้เพราะปัญหาจากรัฐสันตะปาปา ดินแดนส่วนหนึ่งตอนกลางของแหลมอิตาลีที่อยู่ในความครอบครองของสันตะปาปามาตั้งแต่สมัยกลาง จนกระทั่ง ค.ศ.1870 อิตาลีจึงรวมรัฐชาติได้สำเร็จ







                                            แสดงความคิดเห็นได้นะครับ