ระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
คำว่า feudalism มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึงที่ดิน
ซึ่งบุคคลที่ได้รับที่ดินจากเจ้านายเรียกว่า วัสซัล จะต้องให้ความเคารพและรับใช้เจ้านายเพื่อตอบแทนสิทธิที่ได้ใช้ที่ดินผืนนั้น
เป็นระบบการปกครองในยุโรปสมัยกลาง ที่มีการกระจายอำนาจ
และเป็นรากฐานการปกครองท้องถิ่นของดินแดนต่างๆในยุโรป
สาเหตุการเกิดระบอบฟิวดัล
1. ประเพณีของชาวโรมันในการแสวงหาผู้อุปการคุณและฝากตัวกับขุนนางที่มีอำนาจ
เพื่อให้รอดพ้นจาก
การรุกรานของพวกอนารยชนเผ่ากอทหรือเยอรมันและโจรผู้ร้าย
2. ประเพณีคอมิสเตตัส
(comistatus) เป็นประเพณีที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบกระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีซื่อตรงต่อหัวหน้าทั้งในยามสงบสุขและยามสงคราม
จนกว่าชีวิตจะหาไม่
รูปแบบการปกครอง
เป็นระบอบการปกครองแบบกระจายอำนาจจากกษัตริย์ไปยังขุนนาง ผู้ที่ได้รับสิทธิในการ
ครอบครองที่ดินเรียกว่าเจ้านายหรือลอร์ด ส่วนผู้ที่ได้รับมอบที่ดินเรียกว่า
วัสซัล แล้วนำไปจัดตั้งเป็นเขต
แมเนอร์ มีการบริหารจัดการที่ดินและปกครองตนเองแบบเบ็ดเสร็จ
โดยมีวัสซัลเป็นเจ้านายของแต่ละ
แมเนอร์ มีชาวนาและข้าทาส
เป็นผู้ใต้ปกครองมีหน้าที่ทำนาและรับใช้เจ้านาย ในขณะเดียวกันเจ้านายก็ให้ความคุ้มครองชาวนาและข้าทาส
จึงเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเจ้านายกับข้า ประเทศที่เคยใช้ระบบฟิวดัล เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน
สังคมในระบอบฟิวดัล ประกอบด้วย
1. กษัตริย์
มีฐานะเป็นเจ้านายสูงสุด
2. ขุนนาง (ผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินจากกษัตริย์และเป็นเจ้าของชาวนา ,ข้าทาส)
3. อัศวิน (ลูกของขุนนาง)
4. ชาวนา ,
ข้าทาส
การเสื่อมของระบอบฟิวดัล สาเหตุเกิดจาก
1. การปฏิวัติทางเศรษฐกิจคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้การค้าและอุตสาหกรรม
มีความเจริญก้าวหน้า
2.
การฟื้นฟูการค้ากับตะวันออกใกล้หรือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ทำให้มีการไถ่ตัวข้าทาสเป็นอิสระ โดยไปทำการค้าเป็นช่างฝีมือ
มีการเลื่อนฐานะเป็นชนชั้นกลางและมีอิทธิทางเศรษฐกิจ
3. เกิดโรคระบาด กาฬโรคทั่วยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทำให้แรงงานหายาก
3. เกิดโรคระบาด กาฬโรคทั่วยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทำให้แรงงานหายาก
ข้าทาสมีโอกาสเป็นอิสระ
มีการโยกย้ายที่อยู่ ระบบแมเนอร์จึงเสื่อมลง
4. มีทหารรับจ้าง ชาวนาหนีไปเป็นทหารรับจ้าง เกิดการจลาจลของชาวไร่ ชาวนา
5. สงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำให้อัศวินเสียชีวิตมาก กษัตริย์ยึดอำนาจ
4. มีทหารรับจ้าง ชาวนาหนีไปเป็นทหารรับจ้าง เกิดการจลาจลของชาวไร่ ชาวนา
5. สงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำให้อัศวินเสียชีวิตมาก กษัตริย์ยึดอำนาจ
คืนจากขุนนางโดยมีพ่อค้า
ชนชั้นกลางสนับสนุน กษัตริย์เริ่มติดต่อโดยตรงกับประชาชนทรงมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริง
ยุบกองทัพของขุนนาง
ระบบฟิวดัลได้วิวัฒนาการเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปนและฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
ระบอบแมนเนอร์
แมนเนอร์ (Manor) เป็นระบบการปกครองในฟิวดัลเจ้าหน้าที่ในเขตปกครอง
“คฤหาสน์” เรียก “Lord of the
Manor” ขุนนางมีสิทธิ์ครอบครองแมนเนอร์เป็นร้อยๆ
ได้ ในแมนเนอร์ มีการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก
แม้แต่แมนเนอร์ ที่เล็กที่สุดมีเนื้อที่ประมาณ 300 – 400
เอเคอร์ และอาจประกอบด้วยหมู่บ้านเดียวหรือมากกว่านั้น
แต่ละแมนเนอร์จะมีระบบเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ในตัวเอง ภายในแต่ละแมนเนอร์จะมี
Manor - House ของ Lord หรือเจ้านาย
อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยคูกั้นเป็นที่อยู่ของครอบครัวเจ้าของที่ดินและอัศวินทั้งหลาย
ตลอดจนผู้จัดการดูแลแมนเนอร์ และพระของหมู่บ้านแมนเนอร์ ถัดจากคูที่ล้อมรอบ Manor-House เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไร่ชาวนา
เลยที่อยู่ของชาวไร่ชาวนาออกไปเป็นไร่นา ส่วนที่ดีที่สุดกันไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าของที่ดินและพระ
ที่เหลือเจ้าของที่ดินจะจัดแบ่งให้พวกไพร่ติดที่ดิน แต่ละครอบครัวทำกินจะขยายหรือโยกย้ายไม่ได้
ถ้าเจ้าของที่ดินไม่สั่ง
ชนชั้นในแมนเนอร์สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.ชนชั้นขุนนางหรือเจ้าของแมนเนอร์ ซึ่งอาจรวมพระ หรือกษัตริย์
สำหรับแมนเนอร์ใหญ่ๆ
2.ชนชั้นไพร่ เป็นชนชั้นที่ทำงานให้แก่ชนชั้นขุนนาง
ประกอบด้วย
ก.ชนชั้นวิเลนส์
(Villein) เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในแมนเนอร์
และเป็นชนชั้นที่มีความสำคัญต่อแมนเนอร์มากกว่าชนชั้นอื่น
เพราะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการเพาะปลูก
ข. ชนชั้นคอททาร์ หรือบางทีเรียก บอร์ดาร์ (Bordars) หรือคอทเทเจอร์ส (Cottagers)
ชนชั้นนี้มีจำนวนคนรองจากชนชั้นวิเลนส์และมีฐานะด้อยกว่าทั้งในทางสังคมและทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากมีที่ดินน้อยกว่า จึงต้องพึ่งพาชนชั้นอื่นในการดำรงชีพ
โดยเฉพาะการรับใช้ตอบแทนขุนนาง และทำหน้าที่เป็นแรงงาน
ค. ชนชั้นทาส (Serf)
เป็นพลเมืองส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในแมนเนอร์
มีพันธะที่จะต้องจ่ายให้เจ้านายของตนในรูปแรงงานและผลผลิต หรือเงินตรา เช่น
ต้องเสียภาษีรัชชูปการ
3.ชนชั้นเสรีชน
เป็นชนชั้นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับขุนนาง เป็นเจ้าของที่ดินโดยเสรี ไม่ต้องมีภาระข้อผูกมัดกับชนชั้นอื่นๆ
แสดงความคิดเห็นได้นะครับ