ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ หมายถึง
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อผลิต บริโภค กระจาย
แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยแทรกอยู่ในข้อเขียนและหนังสือสอนศาสนาของนักปราชญ์ในสมัยนั้น
เช่น หลักปรัชญาของโซเครตีส (Socrates) เพลโต (Plato)
ฯลฯ แต่แนวความคิดดังกล่าวยังไม่ถือเป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ซึ่งเป็นสมัยที่การค้าทางยุโรปเจริญรุ่งเรืองมาก
ได้แก่
1.ลัทธิพาณิชย์นิยม (mercantilism)หรือพวกที่นิยมการทำการค้า
นักพาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อประเทศนั้นๆขายสินค้าขาออกให้ต่างประเทศเป็นมูลค่ามากกว่าการซื้อสินค้าขาเข้า
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเศรษฐกิจของประเทศจะมั่นคงก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีดุลการค้าที่เกินดุล
ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าการที่ประเทศมีดุลการค้าเกินดุลทำให้มีทองคำและเงินตราไหลเข้าประเทศมากๆจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงานภายในประเทศ
เนื่องจากเมื่อประเทศมีปริมาณเงินหมุนเวียนมากจะทำให้การค้าเจริญ
เมื่อการค้าเจริญการผลิตย่อมเพิ่มขึ้นตาม
ส่งผลให้เกิดการว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในที่สุด ประชาชนจะมีความอยู่ดีกินดีเนื่องจากมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ นักพาณิชย์นิยมยังมีความเชื่อว่า
การที่ประเทศจะมั่งคั่งคือมีดุลการค้าที่เกินดุลนั้น รัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะในด้านการค้ากับต่างประเทศ กล่าวคือ รัฐจะต้องส่งเสริมให้มีการส่งออกให้มากพร้อมกับให้มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
รัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการค้าและนโยบายด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ
2.ลัทธิเสรีนิยม
( Laissez faire )ในคริสต์ศตวรรษที่
18 ของ อดัมสมิท (Adam Smith)
ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์
ซึ่งเป็นแกนนำของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก(classical
school) ได้เขียนหนังสือชื่อ An
Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations หรือที่นิยม
เรียกสั้นๆว่า The
Wealth of Nations ใน ค.ศ. 1776
นับได้ว่าเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกและยิ่งใหญ่ที่สุด
เล่มหนึ่งของโลกมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งทำให้อดัมสมิทได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชา
เศรษฐศาสตร์
แนวคิดหลักของสำนักคลาสสิกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (laissez-faire)
โดยจำกัดบทบาทของรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจเพราะมีความเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
จะทำให้
ประเทศพัฒนาไปได้ด้วยดี
เศรษฐกิจของประเทศจะมีความมั่งคั่งก็ต่อเมื่อรัฐบาลแทรกแซงหรือมีบทบาทใน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด
(ไม่แทรกแซงเลยดีที่สุด) รัฐบาลมีหน้าที่เพียงแต่คอยอำนวยความ
สะดวก
รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และป้องกันประเทศ ปล่อยให้เอกชน
เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจอย่างเสรี นั่นคือ
สมิทเชื่อใน พลังงานกลไกตลาด (ราคา) หรือ ที่เขาเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น
นอกจากสมิทแล้วนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มของ
คลาสสิกยังมีทอมัสมัลทัส (Thomas Multhus) เดวิด
ริคาร์
โด (David
Ricardo) จอห์น มิลล์ (John Mill)
หลังจากกลุ่มของสำนักคลาสสิกก็เป็นกลุ่มของสำนักนีโอคลาสสิก (neoclassical
school) ซึ่งเป็น
สำนักเศรษฐศาสตร์ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่
19 แนวคิดหลักของ
สำนักนีโอคลาสสิกส่วนมากสืบต่อหรือดัดแปลงแก้ไขมาจากแนวคิดของสำนักคลาสสิก
โดยเชื่อว่าการ
แข่งขันอย่างเสรีจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจมีความมั่งคั่ง
นั่นคือ สนับสนุนแนวคิดของระบบเศรษฐกิจ
แบบเสรีเช่นเดียวกับของสำนักคลาสสิก
นอกจากนั้น ยังเน้นให้เห็นว่าเนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด
ดังนั้นผู้บริโภคจะต้องพยายามเลือกบริโภคสินค้าและบริการเพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุด
และเช่นเดียวกัน
ผู้ผลิตจะต้องตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่ทำให้เสียต้นทุนต่ำที่สุดหรือให้ได้กำไรสูงสุด
นั่นคือ แต่ละฝ่าย
จะต้องพยายามใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัดที่สุด
นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้วางรากฐานแนวคิดที่
สำคัญของสำนักนีโอคลาสสิกคืออัลเฟรดมาร์แชลล์
นอกจากนี้ ยังมี วาลรา ( Walras) วิลเฟรโด พาเรโต
(Vilfredo Pareto) ฯลฯ
นอกจากนี้
นักเศรษฐศาสตร์ของทั้งสำนักคลาสสิกและนีโอคลาสสิกต่างมีความเชื่อว่า อุปทานจะ
เป็นตัวสร้างอุปสงค์ (supply
creates its own demand) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่าคือ
กฎของเซย์
(Say's law) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า อุปทานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ กล่าวคือ ไม่ว่า
ผู้ผลิตจะผลิตสินค้า
หรือบริการอะไรออกมาก็จะมีผู้รับซื้ออยู่ตลอดเวลา
นั่นคือ จะไม่เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่ำ หรือเกิดการว่างงาน
ซึ่งต่อมาแนวความคิดนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากเกิดภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่ำอย่างรุนแรง
เกิดปัญหาการว่างงานจำนวนมากใน ค.ศ. 1930
ซึ่งกฎของเซย์ไม่สามารถอธิบาย
ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้
3. แนวความคิด
ของ จอห์น เคนส์(John Keynes)แกนนำแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สำนัก
เคนส์ (Keynesian
Economics) ได้เขียนหนังสือชื่อ The General Theory of
Employment, Interest and
Money ซึ่งถือว่าเป็นตำราเศรษฐศาสตร์มหาภาคเล่มแรกของโลก
ใน ค.ศ. 1936 เพื่ออธิบายถึงสาเหตุของ
ภาวะสินค้าล้นตลาด เศรษฐกิจตกต่ำ
และการว่างงานจำนวนมากตลอดจนวิธีการแก้ไข นับเป็นครั้งแรกของ
วงการเศรษฐศาสตร์ที่ได้มีการศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจหรือของทั้งประเทศ
เคนส์
มีความเชื่อว่าแนวความคิดที่ถูกต้องคืออุปสงค์จะเป็นตัวกำหนดอุปทาน
ซึ่งตรงข้ามกับกฎของเซย์
โดยอุปสงค์และอุปทานดังกล่าวเป็นตัวมวลรวมของทั้งประเทศ
เคนส์อธิบายว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำคือการที่ระบบเศรษฐกิจมีอุปสงค์มวลรวมน้อยเกินไป
ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการเพิ่มอุปสงค์
มวลรวมของระบบเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการเงินการคลัง
จะเห็นได้ว่าเคนส์เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกของโลกที่กล่าวถึงหรือให้ความสนใจกับเศรษฐกิจมวลรวม
อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้มีการแยกศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น
2
ภาค คือ
3.1ภาคเศรษฐกิจส่วนย่อยซึ่งเรียกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค
3.2ภาคเศรษฐกิจส่วนรวมซึ่งเรียกว่าเศรษฐศาสตร์มหาภาค
และยกย่อง ให้เคนส์เป็น บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์มหาภาค
แสดงความคิดเห็นได้นะครับ